วันศุกร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2552

Six Sigma

นิยามและภูมิหลังเกี่ยวกับ Six Sigma

Six Sigma คือ อะไร?
- Six Sigma คือ เป็นกลยุทธ์เครื่องมือที่ใช้ สถิติมาประยุคใช้แก้ปัญหา เพื่อลดความผันแหรของกระบวนการ ลดของเสีย การปรับปรุงในด้านคุณภาพของกระบวนการ เพื่อสนับสนุนการบริการผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่พอใจของลูกค้าและให้คุณประโยชน์กับธุรกิจมากที่สุด.
ความเข้าใจต่างๆสำหรับ Six Sigma
- แนวความคิด : ความน่าจะเป็นไปได้ทางสถิติ ของความบกพร่อง 3.4 ชิ้น ต่อ 1 ล้านชิ้น
* ซิกซ์ม่า (s) = ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
* เลข 6 ใน ซิกซ์ซิกม่า หมายถึง ระดับคะแนนของซิกม่า บอกถึงความาสามารถในการวัด และควบคุมความผันแปร ให้ได้มาซึ่งความพึงของลูกค้าสูงสุด ซึ่งเป็นระดับที่ บ่งบอกถึงความสมบูรณ์แบบ เป็น“ระดับยากที่จะไปถึง “
*ซิกซ์ ซิกม่า : ซิกซ์ คือตัวเลข 6 และซิกม่าเป็นตัวอักษรกรีก แต่ ซิกม่า เป็นตัววัดทางสถิติ และปรัชญาทางการบริหาร

ลักษณะเฉพาะของ Six Sigma
‒ Customer-focused (มุมมองที่ลูกค้า)
‒ Process-focused (มุมมองที่กระบวนการ)
‒ Scientific problem solving technique (เทคนิคการปัญหาโดยหลักเกณฑ์)
‒ Special personnel training (ฝึกอบรมบุคคลากรเป็นพิเศษ)
‒ Project activity (ทำ Project)
‒ The target of Six Sigma is to raise profits (เป้าหมายคือเพิ่มผลกำไร)

เป้าหมายที่สำคัญในการทำ Six Sigma คือการเพิ่มผลกำไรให้เพิ่มขึ้น

-เป้าหมายที่สำคัญของ Six Sigma อันดับแรก คือการเพิ่มผลกำไรเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นยังถือเป็นเป้าหมายหลักขององค์กรอีกด้วยsix sigma คือ ค่าใช้จ่ายของเสียเพียง <10%>

ข้อแตกต่างระหว่าง Six Sigma จากกิจกรรมควบคุมคุณภาพในปัจจุบัน ตัวแปรสำคัญที่ทำให้ Six Sigma ประสบความสำเร็จ
การให้ความสนใจและสนับสนุนจากทางผู้บริหารระดับสูง Managers(The “right” support = Leadership commitment)
+ การเลือกปัญหาที่จะมาทำการแก้ไขได้ถูกต้อง (The “right” project)
+ การเลือกบุคคลที่เหมาะสมในการทำหน้าที่ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น (The “right” people)
+ การใช้วิธีการและเครื่องมือที่ดีในการแก้ไขปัญหา (The “right” roadmap & tool)

โครงสร้างทีมงานในการจัดการ Six Sigma (Six Sigma Deployment Organization)
- Champion ผู้บริหาร คอยให้นโยบาย จัดทีม ควบคุมดูแลโปรเจค
- Master Black คอยสอน และควบคุมดูแล
- Black Belt คอยคุมทีม ทำโปรเจคและเชี่ยวชาญเครื่องมือด้านคุณภาพและเป็นผู้นำทีม
- Green Belt คอยsupport ทีม
- Finance Effect Analyst คอยคำนวณเงินตามทิ่ black belt การลดค่าใช้จ่ายที่นำเสนอมาว่าถูกต้องหรือไม่

การพิจารณา การเลือก และควบคุมโครงการ (Project Deduction/Selection/Control)
ก่อนที่เราจะเลือกโครงการที่จะทำควรมีการนำข้อมูลด้านลูกค้า ทั้งปัญหา ความต้องการ และจุดวิกฤติในด้านคุณภาพ
Customer/VOC/VOB/CTQ
ลูกค้าคือใคร?
VOC คืออะไร?
VOC ย่อมาจาก Voice Of Customer หรือที่เรียกกันว่า เสียงของลูกค้า ใช้แทนความต้องการต่างๆ ของลูกค้าทั้งภายนอกและภายใน และควรถูกรับฟังบน viewpoint ของลูกค้า
VOB คืออะไร?
VOB ย่อมาจาก Voice Of Business หรือที่เรียกกันว่า เสียงของธุรกิจ และความต้องการของผู้บริหารระดับสูง ที่ต้องการทำให้เป้าหมายของการจัดการแผนการ และกลยุทธ์ทางธุรกิจ ของแต่ละหน่วยบริษัท /ธุรกิจ/หน่วยงาน
CTQ (วิกฤตคุณภาพ)
CTQ เป็นตัววัดคุณลักษณะทางด้านคุณภาพ เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพและคุณประโยชน์ของกระบวนการ จากความต้องการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือบริการ โดยมุ่งเน้นที่ความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญ ( ลูกค้าภายใน + ลูกค้าภายนอก)

การพิจารณา และการเลือก Project
ระเบียบวิธีการ การเลือก Project


การควบคุมโครงการ

“ซิกส์ ซิกม่า” (Six Sigma) เป็นเครื่องมือหนึ่งในการบริหารองค์กรที่มีแนวทางในการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง 5 ขั้นตอนด้วยกันคือ
1.Define: D - การกำหนด
2.Measure: M – การวัด / การประเมิน
3.Analysis: A - การวิเคราะห์/ตรวจสอบข้อมูล
4.Improve: I - การหาทางปรับปรุงแก้ไข และ
5.Control: C - การควบคุม
โดยการดำเนินการทั้ง 5 ขั้นตอนนี้ นำไปสู่เป้าหมายในการป้องกันความผิดพลาดและลดความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยการค้นหาต้นเหตุของความผิดพลาด และหาทางปรับปรุงแก้ไขอย่างถาวรและต่อเนื่อง รวมทั้งต้องมีข้อมูลในการกำหนดแผนและวิธีการวัดผลที่สามารถบ่งชี้ผลลัพธ์ได้อย่างชัดเจน

เครื่องมือสำหรับเลือก PROJECT
1. Top Dow
เป็นการเลือก PROJECT โดยการกำหนดปัญหาใหญ่(Big Y) มาจากผู้บริหารระดับสูง
2. QFD : Quality Function ต่างๆ
3. BLOCKS MATRIX เป็นเครื่องมือซึ่งใช้ในการเลือกปัญหา ซึ่งมีข้อมูลในการเลือกปัญหาน้อยหรือใช้ประสบการณ์ เป็นปัญหาที่มีความสำคัญและไม่ยากในการทำโครงการ
4. PARETO เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการเลือกปัญหา โดยมีข้อมูลที่นำมาประกอบในการตัดสินใจเลือกปัญหา และยังเป็นเครื่องมือที่เจาะลงไปให้ถึงระดับของปัญหาที่จะสามารถเลือกมาทำโครงการได้

แนวทางในการเลือกทำ Project
1. Project ที่ทำควรส่งผลหรือให้ผลตอบแทนต่อการลงทุนสูง รวมถึงสามารถพัฒนาปรับปรุงได้
2.การตัดสินใจควรมาจากพื้นฐานความเป็นจริง ไม่ควรที่จะตัดสินใจโดยใช้ความรู้สึกหรือการคาดคะเนเอาเอง

การดำเนินการโครงการ (หลักการทำโครงการตามแบบของ Six Sigma)
จากที่กล่าวไปแล้ว ในการดำเนินการนั้นจะมีนิยาม วัดผล วิเคราะห์ ปรับปรุง และควบคุม เช่นนิยามของเสีย ก็ต้องมีการวัดผลสิ่งที่ลูกค้าต้องการกับสิ่งเป็นจริงแตกต่างกัน ก็ต้องมาวิเคราะห์เหตุปรับปรุง วงจรซิกซิกม่า DMAIC ก็คล้ายๆ PDCD แต่ละขั้นตอนต้องกำหนดใครคนทำ และเป็นสถิติด้วย
Define คือ ขั้นตอนของการนิยามหรือกำหนดปัญหา เลือกโครงการที่จะทำการปรับปรุงหรือออกแบบ ทั้งนี้เน้นความต้องการของลูกค้าเป็นหลักด้วย เพื่อให้โครงการที่เลือกทำนั้นเป็นเรื่องสำคัญจริงๆ ทำแล้วคุ้มค่า ตรงประเด็นไม่เสียเวลาMeasure คือ ขั้นตอนการวัด เช่นวัดความสามารถของกระบวนการ วัดของเสีย วัดประสิทธิผล ฯลฯ เพื่อนำมาวิเคราะห์ตัวแปรต่างๆ
Analysis คือ ขั้นตอนการวิเคราะห์(จากข้อมูลที่วัดมาได้)เพื่อหาหรือพิสูจน์ตัวแปรที่สำคัญที่สุดในกระบวนการ (Key process variable)ที่เป็นต้นตอสาเหตุของปัญหาที่นิยามไว้
Improve คือขั้นตอนของการปรับปรุง (Action นั่นแหละ) Control คือ ขั้นตอนของการ

ผลตอบแทนและข้อดีจากการทำSix sigma
1.Six Sigma เป็นปรัชญา (Philosophy) ในการบริหารเพื่อปรับปรุงความพึงพอใจของลูกค้าอย่างสูงสุด
2.Six Sigma เป็นแนวทางในการที่จะช่วยให้องค์กรเกิดการปรับปรุงกิจกรรม การปฏิบัติงานในอันที่จะลดข้อบกพร่องและใช้ทรัพยากรที่น้อยที่สุดในการตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้า
3.Six Sigma สามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีระบบ สร้างกลยุทธ์ใหม่ให้ธุรกิจ
4.Six Sigma สร้างโอกาสในการแข่งขันให้กับองค์กร ( Wining Competitiive Advancetage) ต้นทุนที่ลดลง คุณภาพที่สูงขึ้น เวลาในการส่งมอบบที่รวดเร็วและการทำงานเป็นมาตรฐานเป้นผลสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการปรับปรุงที่เพิ่มโอกาสในการแข่งขันให้องค์กรอย่างแน่นอน
5.Six Sigma พัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพสูงขึ้น และปรับองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ศักยภาพของบุคลากรจะถูกท้าทายด้วยเป้าหมาย
6.Six Sigma มีการกำหนดตัววัดผล และ แนวทางที่ชัดเจน
7.Six Sigma ช่วยหาระดับคุณภาพของอุตสาหกรรม โดยสามารถเปรียบเทียบข้ามกลุ่มอุตสาหกรรมได้

ความล้มเหลวที่อาจเกิดขึ้นในองค์กรที่ทำ Six Sigma
1. ไม่ได้ใช้เวลาอย่างเพียงพอในการทำความเข้าใจและมองเห็นถึงประโยนช์ที่แท้จริงของ Six sigma
2. ขาดความมุ่งมั่นที่จริงจังเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมาย
3. ขาดความคาดหวังในการบรรลุผลของ Six sigma
4. ไม่ได้ดูแล จัดการ Six Sigma เท่าที่ควร



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น