วันศุกร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2552

LEAN

LEAN คืออะไร (พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี )
1.คำว่า LEAN ถ้าใช้เป็นคำคุณศัพท์สามารถแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า "บาง" หรือปราศจากส่วนเกิน
2.ถ้าเปรียบคำนี้กับลักษณะของอุปกรณ์ก็จะเป็นลักษณะของอุปกรณ์สมัยใหม่ที่มีขนาดที่เล็กลงแต่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
3.ในด้านการบริหารและการดำเนินธุรกิจ LEAN คือการออกแบบและการจัดการกระบวนการ, ระบบ, ทรัพยากร ได้อย่างเหมาะสม ทำให้สามารถส่งมอบผลิตภัณฑ์ได้อย่างถูกต้อง
4. โดยพยายามให้เกิดความสูญเสียน้อยที่สุด (Minimum Waste) หรือมีส่วนเกินที่ไม่จำเป็นน้อยที่สุด ในการผลิต

LEAN คืออะไร (อาปิโก้เชื่อมือออราเคิลติดตั้งโซลูชัน 'ลีน แมนูแฟกเจอริง' มูลค่ากว่า 37, ผู้จัดการออนไลน์26 ตุลาคม 2548 )
Lean Manufacturing เป็นระบบบริหารจัดการด้านการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าแบบทันที โดยเน้นสร้างประสิทธิผลสูงสุด และลดการสูญเสียในวงจรการผลิตน้อยที่ระบบการผลิตแบบลีน (Lean Manufacturing System) คือ “ระบบการผลิตที่มุ่งเน้นในเรื่องการไหล (Flow) ของงานเป็นหลัก โดยทำการกำจัดความสูญเปล่า (Waste) ต่าง ๆ ของงาน และ เพิ่มคุณค่า (Value) ให้กับตัวสินค้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจสูงสุด (Customer Satisfaction)

LEAN MANUFACTURING แต่เดิมถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัทผลิตรถยนต์ขนาดใหญ่ในญี่ปุ่น(TOYOTA) ซึ่งได้นำมาใช้ และเผยแพร่ในธุรกิจในอุตสาหกรรมการผลิต เช่น ญี่ปุ่น อเมริกา และยุโรป ต่อมาได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมประเภทอื่นๆ โดยรายละเอียดของการผลิต, หลักการผลิตและ การออกแบบผลิตภัณฑ์ในระบบ


ภาพรวมของระบบ Lean Manufacturing
หลักการของ “ลีน” (LEAN) คือ การทำให้ถูกตั้งแต่เริ่มแรก ในทางทฤษฎีของ LEAN แล้ว การ "ทำให้ถูก" ในที่นี้หมายถึงการทำงานที่ป้องกัน ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้อย่างสิ้นเชิง อันได้แก่

การออกแบบและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กราฟฟิคจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่อาจช่วยให้ผู้ผลิตสามารถจำลองและแสดงผลผลิตขั้นสุดท้ายให้ลูกค้าได้เห็นภาพก่อน

การออกแบบการผลิต ทำให้การผลิตมีความสะดวกที่สุด โดยไม่มีการหยุดชะงักในขั้นตอนการผลิตทั้งหมด

การสร้างบุคคลและองค์กร การพัฒนาบุคลากรเพื่อให้มีความสามารถที่สูงขึ้นกว่าเดิมและสร้างความสัมพันธ์ที่กับองค์กรภายนอก
การวางแผนและควบคุม การวางแผนในด้านการขนถ่ายวัสดุที่ไม่จำเป็นออกจากระบบการจัดหาวัสดุในการผลิต และการเก็บสินค้าคงเหลือ

กรณีศึกษาบริษัท Pacific Contracting
บริษัท Pacific Contracting เป็นบริษัทรับเหมางานหลังคา ในเมือง San Francisco ทางบริษัทได้ทำการสำรวจกระบวนการทำงานและพบว่าปัญหาหลัก 2 ประการในคือ การขาด วัสดุอุปกรณ์เมื่อต้องการใช้กับปัญหาแบบก่อสร้างที่ได้รับจากผู้รับเหมาหลักไม่สมบูรณ์ หาก ต้องการกำจัดความสูญเสียเหล่านี้ตามหลักการ Lean ก็จะต้องพัฒนาปรับปรุงแบบก่อสร้าง และกระบวนการจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ก่อนเริ่มงาน ซึ่งเป็นการลงทุนก่อนเริ่มงานก่อสร้างจริง เพื่อที่จะลดระยะเวลาก่อสร้างนั่นเอง โดยทางบริษัทได้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการวาง แผนก่อสร้าง และใช้ระบบออกแบบและเขียนแบบสามมิติเพื่อช่วยให้การออกแบบรวดเร็วและ
ได้ข้อมูลก่อสร้างที่ชัดเจนขึ้น ส่งผลให้ระยะเวลาในการก่อสร้างลดลง ทางบริษัทพบว่าผลที่ ได้รับคือบริษัทมีผลตอบแทนเพิ่มขึ้น 20% ในระยะปีครึ่ง โดยไม่มีการเพิ่มคนงานแต่อย่างใด ผลตอบแทนที่ได้รับนั้นมาจากการกำจัดความสูญเสียที่อยู่ในระบบออกไปนั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น